เหรียญรูปเสมาหลังภปร.ปี2509 จัดสร้างโดยพระราชพุทธิรังสี เป็นที่ระลึกเนื่องในวาระที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จพระราชกุศลสร้าง"โรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร".
มีสองชนิดคือ... ชนิดพิมพ์ฐานบัวและชนิดพิมพ์ฐานเขียง(ฐานตัน-ฐานผ้าทิพย์) ชนิดของโลหะที่สร้างมี4ชนิดคือ... ทองคำ-เงิน-ทองแดงกะไหล่ทอง-อัลปาก้า
เหรียญเสมาหลังภปร.... เป็นเหรียญที่มีการจัดสร้างเป็นจำนวนมาก... ทั้งสองชนิดดังกล่าวจะมีพิมพ์แยกแตกต่างกันออกไปเป็นจำนวนมาก... โดยที่ไม่ได้มีการบันทึกรายละเอียดในการจัดสร้างไว้ในแต่ละพิมพ์... จึงเป็นการยากที่จะนำมาเสนอรายละเอียดที่แน่นอนไว้ทั้งหมด... ที่นำมาเสนอเพียงเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาในเบื่องต้นเท่านั้น... ไม่ถือเป็นช้อยุติของพระพิมพ์นี้ทั้งหมด จึงเรียนมาเพื่อทราบ...
เนื้อทองแดงกะไหล่ทองพิมพ์ฐานบัว... เป็นพิมพ์พระที่ศึกษาง่ายที่สุดเพราะ... พิมพ์หลังมีเพียงพิมพ์เดียว.... พิมพ์หน้าเท่าที่ศึกษามาและที่เห็นมี4พิมพ์...
วิธีง่ายๆในการสังเกตุพิมพ์พระในขั้นต้น... ให้ดูความแตกต่างของปลายสังฆาฏิหรือชายจีวรฯลฯ พิมพ์หลัง ให้ดูความแตกต่างของการเรียงเม็ดใข่ปลาและการตีกรอบฯลฯ หลังพระพิมพ์นี้จะมีเพียงขีดล่าง-บนเท่านั้นฯลฯ
พิมพ์ฐานเขียงกะไหล่ทอง... เท่าที่พบเห็น... พิมพ์หน้ามี3พิมพ์... พิมพ์หลังมี2พิมพ์... ยังมีการสลับพิมพ์หน้า-หลังมาใช้ร่วมกัน..
พิมพ์ฐานบัวเนื้ออัลปาก้า... จะมีพิมพ์ที่แตกต่างจากพิมพ์ฐานบัวเนื้อทองแดงโดยสิ้นเชิง... พิมพ์หน้าเท่าที่เห็นมี4พิมพ์... พิมพ์หลังเท่าที่เห็นมี4พิมพ์เช่นกัน...
พิมพ์ฐานเขียงกะไหล่ทอง... เท่าที่พบเห็น... พิมพ์หน้ามี3พิมพ์... พิมพ์หลังมี2พิมพ์... ยังมีการสลับพิมพ์หน้า-หลังมาใช้ร่วมกัน..
พิมพ์ฐานเขียงกะไหล่ทองพิมพ์ที่1-หลังพิมพ์1
พิมพ์ฐานเขียงกะไหล่ทองพิมพ์ที่2แต่ใช้หลังพระพิมพ์ที่1
พิมพ์ฐานเขียงกะไหล่ทองพิมพ์ที่2-หลังพระพิมพ์ที่2
พิมพ์ฐานเขียงกะไหล่ทองพิมพ์ที่3แต่ใช้หลังพระพิมพ์ที่2
พระพิมพ์ฐานเขียงเนื้ออัลปาก้า... เท่าที่พบเห็นมีอยู่2พิมพ์ทั้งหน้าและหลัง...
พิมพ์ฐานเขียงอัลปาก้า พิมพ์ที่1-หลังพิมพ์1
พิมพ์ฐานเขียงอัลปาก้าพิมพ์ที่2-หลังพิมพ์2
การสลับพิมพ์พระหน้า-หลังเป็นเรื่องธรรมดาปรกติที่พบเห็นในพิมพ์พระชุดต่างๆของทางวัด เช่น พระกริ่งรมดำปี2500-2508 -สองหน้าปี97 -ใบโพธ์- ลงถม -เหรียญเงินลงยา ฯลฯ พระองค์นี้...พิมพ์ฐานเขียงกะไหล่ทอง... พิมพ์หน้าเป็นพิมพ์พระของเนื้ออัลปาก้าพิมพ์ที่1 แต่นำมาใช้กับเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง... พิมพ์หลัง...นำพิมพ์หลังของพระพิมพ์ฐานบัวกะไหล่ทองมาใช้ในพระพิมพ์ฐานเขียงฯลฯ
จึงจัดเป็นพิมพ์พระที่ยากในการหาข้อมูลและรายละเอียดเพื่อนำมาให้ศึกษา...
พระพิมพ์ที่1เนื้ออัลปาก้าฐานเขียงนำพิมพ์หน้ามาใช้กับองค์ดังกล่าวทองแดงกะไหล่ทอง
เทีบบพิมพ์หน้ากะไหล่ทอง-อัลปาก้า เป็นพิมพ์เดียวกัน
พระพิมพ์ฐานบัวพิมพ์ที่4พิมพ์หลังนำมาใช้กับพระพิมพ์ฐานเขียงองค์ดังกล่าว
เทียบพิมพ์หลังพิมพ์ฐานเขียง-ฐานบัวกะไหล่ทอง เป็นพิมพ์เดียวกัน
พระพุทธโสธรพิมพ์ฐานเขียงปี2509-เนื้อทองคำ...
เป็นพระเนื้อทองคำที่ถูกสร้างเลียนแบบมากที่สุดมีมานานแล้ว... โดยการขึ้นพิมพ์พระใหม่ให้ดูคล้ายๆนำมาปั๊มและทำผิวให้ดูเป็นทองเเก่า... อาศัยพิมพ์พระที่มีมากยากแก่การจดจำพิมพ์ทำให้ตรวจสอบได้ยาก...
พระเนื้อทองคำหลังภปร.ส่วนมากเท่าที่เห็น...บางกว่าเนื้อชนิดอื่น... จะใชพิมพ์เดียวกันกับเนื้ออื่นทั้งหน้า-หลังสลับกันแต่ต่างบล๊อคกัน... ตรวจสอบได้จาก พิมพ์-ความเก่าของทอง-รอยปั๊ม-ธรรมชาติ
พระเนื้อทองคำองค์นี้... พิมพ์หน้า...ใช้พิมพ์พระฐานเขียงอัลปาก้าพิมพ์ที่1... พิมพ์หลัง...ใช้พิมพ์หลังของฐานเขียงกะไหล่ทอง.พิมพ์ที่2..
พระพิมพ์นี้เท่าทีเห็นจะใช้กับ...
เนื้อทองคำ-หลังพิมพ์ฐานเขียงกะไหล่ทองพิมพ์ที่2 เนื้ออัลปาก้า-หลังพิมพ์ฐานเขียงอัลปาก้าพิมพ์ที่1 เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง-หลังพิมพ์ฐานบัวกะไหล่ทอง (เคยเห็นพระพิมพ์นี้ประกบหลังกับพิมพ์หลังยันต์เนื้อทองคำ)
พิมพ์หน้าเป็นพิมพ์เดียวกันแต่ต่างบล๊อคกันในแต่ละโลหะ... พิมพ์หลังจะต่างกันโดยสิ้นเชิงในแต่ละพิมพ์...
|