ประวัติวัดโสธรฯ
วัดโสธร อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัด ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 2 ก.ม อยู่ริมแม่น้ำบางประกง และติดกับค่ายศรีโสธร ซึ่งเป็นที่ตั้งกองพันทหารช่างที่ 2 (ช.พัน2) ตามหนังสือประวัติพระพุทธโสธร รวบรวมโดย พระมหาก่อเขมทสสี ขณะเมื่อยังเป็นเจ้าคุณพระเขมารามมุนีได้กล่าวว่า เดิมวักโสธรนี้ มีชื่อว่า " วัดหงส์" เพราะที่วัดมีเสาใหญ่มีรูปหงส์เป็นเครื่องหมายติดอยุ่บนยอดเสา วัดนี้สร้างในสมัยไม่ปรากฏ แต่พอจะสันนิษฐานได้ว่าเป้นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง สร้างขึ้นในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี หรือต้นสมัยกรุงธนบุรี ราวปี พ.ศ 2307 มูลเหตุที่วัดนี้ที่ได้ชื่อว่าโสธร มีผู้เฒ่าเล่าสืบกันมาว่าหงส์ซึ่งอยู่บนยอดเสาใหญ่ถูกลมพายุพัดลงมา ครั้นหงส์ตกลงมาแล้วก็เหลือแต่เสาใหญ่จึงมีบุคคลเอาธงขึ้นแขวนแทน เลยเรียกชื่อวัดนี้ว่า "วัดเสาธง" ต่อมาเกิดลมพายุกล้าพัดเสาธงหักโค่นลงมาเป้นสองท่อน ประชาชนที่ถือเอาเครื่องหมายเสาธงหักเป็นท่อนนั้น ตั้งชื่อว่า "วัดเสาทอน" ครั้นต่อมาค่อย ๆ เพี้ยนแล้วห้วนเข้าเลยเรียกกันว่า"วัดโสธร" จนกระทั่งปัจจุบันนี้
นามวัดโสธรนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้เคยทรงรับสั่งว่าเป็นนามที่ไพเราะและแปลก ทั้งแปลได้ความดีมาก และทรงสันนิษฐานว่า ผู้ที่ให้ชื่อวัดไว้คงไม่ใช่คนที่ไม่รู้เรื่อง
ชื่อวัดโสธร หรือวัดโสทร ปรากฏในเรื่องนำเที่ยวจังหวัดฉะเชิงเทราของนายตรี อำมาตยกุล พิมพ์ลงในวารสารปีที่ 6 เล่ม 7 มีข้อความเกี่ยวกับชื่อวีดโสธรนี้ว่า"เมื่อคราวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" เสด็จประพาสวัดนี้เมื่อพ.ศ 2451 ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเหล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังดำรงพระอิสริยยศเป็นมกุฏราชกุมาร ยังทรงเขียนชื่อวัดนี้ว่า "วัดโสทร" ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นวัดโสธรเห็นจะเป็นในราวรัชกาลที่ 6 นี้เอง แต่ยังหาหลักฐานวันเดือนปีที่เริ่มใหม่ไม่ได้" อย่างไรก็ตาม ปรากฏในแถลงการณ์คณะสงฆ์เล่ม 6 หน้า 105 พ.ศ 2461 ลงเรื่องระยะทางสมเด็จพระมหาสมณะ เสด็จตรวจคณะสงฆ์ในมณฑลปราจีนบุรี พ.ศ2459 ชื่อวัดโสธรได้เขียนไว้อย่างนี้แล้ว พอจะอนุมานได้ว่าได้เปลี่ยนชื่อวัดโสทรเป็นวัดโสธร ในราวต้นรัชกาลที่6 ฉะนั้นผู้ที่เขียนชื่อวัดโสธร เป็นวัดโสทร ภายหลังปี พ.ศ 2459 แล้ว น่าจะเกิดจากการสะกดผิดมากกว่าที่จะมีเจตนาเขียนเช่นนั้น
เมื่อคราวพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสมณฑลปราจีน ร.ศ127 ได้มีพระราชหัตถเลขาถึงมกุฏราชกุมาร ความตอนหนึ่งเกี่ยวกับชื่อวัดโสธรว่า "กลับมาแวะวัดโสทรซึ่งกรมดำรงฯ คิดจะแปลว่า ยโสธร จะให้เกี่ยวข้องแก่กาลที่ได้สร้างเมื่อเสด็จกลับจากไปตีเมืองเขมร แผ่นดินพระบรมไตรโลกานาถ หรือเมื่อใดราวนั้น แต่เป็นที่น่าสงสัยเห็นด้วยใหม่นัก..." พระราชปรารถตอนนี้ทำให้เกิดความคิดว่าชื่อวัดโสธรนี้จะเป็นการถูกต้องแล้ว หรือโดยได้ทรงระลึกถึงพระที่นั่ง" ยโสธรมหาพิมานบรรยงค์" ในรัชกาลแผ่นดินพระเจ้าปราสาททอง ได้ยกทัพไปตีเมืองเขมร ได้ชัยชนะ ทรงพระราชดำริเฉลิมพระเกียรติด้วยถ่ายแบบประสาทกับพระที่นั่งในเมืองยโสธร นครธมมาแล้วในกรุงศรีอยุธยา ทำให้สงสัยว่าจะตกตัว"ย" ไปเสียหรืออย่างไร คงเหลือแต่ " โสธร " เท่านั้น แต่ในที่สุดพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ทรงปลงพระทัยจะเชื่อนักเพราะทรงเห็นว่าวัดโสธรนี้ยังใหม่ ดังปรากฏตามพระราชปรารถดังกล่าวข้างต้น พอจะสรุปได้ว่า " โสธร " กับ "ยโสธรมหาพิมานบรรยงค์" มิใช่เป็นสถานที่แห่งเดียวกัน มีที่มาและความหมายต่างกัน
อนึ่ง อำเภอโสธรที่อยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี ก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวัดโสธรนี้ เมื่อชื่อจะคล้ายคลึงกันก็ตาม คำว่า "ยโสธร" แปลว่าทรงยศ เดิมอำเภอยโสธรเรียกว่า อำเภอยศ เพราะเป็นเมืองชื่อว่ายศสุนทร ตั้งขึ้นในราว พ.ศ 2280 ภายหลังเปลี่ยนเป็นเมืองยโสธรแล้วยุบเป็นอำเภอ เมื่อราว พ.ศ2454 วัดโสธรเป็นวัดราษฏรมาแต่ดั้งเดิม พึ่งได้รับพระราชทานยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร มีนามว่า " วัดโวสธรวรารามวรวิหาร" เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2501
ข้อความจากหนังสืองานประจำปีหลวงพ่อโสธร ปี พ.ศ2505
|